OKRs คืออะไร

Objectives and Key Results (OKRs)  คือ  วิธีการตั้งเป้าหมายของแต่ละบุคคล งานหรือกิจกรรม ให้มีเป้าหมายที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร OKR แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Objective (O) หรือ วัตถุประสงค์หลัก คือ วิธีการตั้งเป้าหมายของแต่ละบุคคล งานหรือกิจกรรม ให้มีเป้าหมายที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร OKR แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Objective (O) หรือ วัตถุประสงค์หลัก

ความสำคัญและประโยชน์ของ OKRs

  • เน้นในเรื่องที่สำคัญ (Focus and Commitment to priorities)
  • ปรับองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกันและทำงานเป็นทีม (Align and Connect for Teamwork)
  • มีผู้รับผิดชอบและติดตามได้ง่าย (Tracking for Accountability)
  • ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย (Stretch for Amazing)

การกำหนด Objective

  • Objective ที่สร้างขึ้นต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร
  • พยายามหลีกเลี่ยงการตั้ง Objective ในสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น การสืบค้นข้อมูลวิจัย แต่ควรตั้ง Objective ที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ
  • สามารถระบุได้ชัดว่า Objective ที่ตั้งขึ้นมีความสัมพันธ์กับ Objective ในขั้นที่สูงขึ้นไปได้อย่างไร

การสร้าง Key Results

  • Key Results เป็นการวัดว่า Objective ที่สร้างขึ้นแต่ละข้อนั้น ประสบความสำเร็จหรือไม่
  • โดยเป็นตัววัดในเชิงปริมาณ ที่มีการกำหนดค่าเป้าหมายที่ชัดเจนโดยทั่วไปจะมี Key Results ไม่เกิน 3-5 ข้อใน 1 Objective

ตัวอย่างการสร้าง Objective และ Key Results เช่น

  1. Objective คือ ความเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นวิจัย Key Results อาจเป็นอันดับใน QS Ranking ในเรื่องงานวิจัยอยู่ในลำดับ 1 ใน 3 ของประเทศ

  2. Objective คือ การสร้างงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง Key Results อาจจะเป็นการวัดผลหรือการวัด Milestone ตัวอย่างเช่น ทำโครงการเพื่อสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยในระดับนานาชาติเสร็จสิ้น 100% (Milestone) หรือการมีงานวิจัยตีพิมพ์ใน Scopus อย่างน้อย 50 ผลงาน (วัดผลลัพธ์)

OKRs และงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

           แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565 นำ OKRs มาใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายและขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และใช้เป็นแนวทางในการกำกับทิศทางของการดำเนินงานที่มีเป้าหมายร่วมกันในหน่วยรับงบประมาณในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรรม (ววน.) โดยมีการตั้งเป้าหมาย (Objective) และกำหนดตัววัดผลหรือผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results) เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายและสัมฤทธิ์ผลได้ในทุกระดับ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะหน่วยงานส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อน ระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุน การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและ สังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน ได้กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Objectives and Key Results; OKRs) ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565 ตามโครงสร้างแผนปฏิบัติการกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  1. OKRs ของยุทธศาสตร์ (Strategic) จำนวน 4 ยุทธศาสตร์
  2. OKRs ของแผนงาน (Plan) จำนวน 25 แผนงาน
  3. OKRs ของแผนงานสำคัญ (Flagship) จำนวน 14 แผนงานสำคัญ ทั้งนี้ OKRs ของแผนงานย่อยรายประเด็น (Non Flagship) จะนำส่งร่วมกับ OKRs ของแผนงานสำคัญ

               การใช้ OKRs ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ควรมีการวัดผลและติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ โดยแปลงแผนระยะยาวออกเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น แผนราย 3 ปี แผนรายปี ราย 6 เดือน และรายไตรมาส เป็นต้น เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ตามกรอบเวลาที่ชัดเจนและทันต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันเวลา ด้วยข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ท้าทายได้ สำหรับการติดตามและประเมินผลด้าน ววน. จากระดับยุทธศาสตร์ลงไปสู่ระดับแผนงานและแผนงานสำคัญนั้น จะดำเนินการผ่านกลไกคณะกรรมการ (Platform’s Steering Committee) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนจะเป็นผู้บริหารและจัดการงบประมาณ โดยมี OKRs ที่กำหนดไว้ในแต่ละแผนงาน