ขอบเขตการให้ทุน ววน. ประเภท Strategic Fund
สำนักงานสำนักวิจัย ได้รวบรวมรายละเอียดของทุนวิจัยในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภท Strategic Fund (SF) ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการดำเนินงานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคตโดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
แผนงานที่ P1 พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านการแพทย์และสุขภาพให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
F1 (S1P1) พัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 และการยกระดับเป็นศูนย์กลางด้านวัคซีนในระดับอาเซียน | สถาบันวัคซีนแห่งชาติ : TRL ระดับ 1-7 โดยใช้เทคโนโลยีการพัฒนาวัคซีนต้นแบบภายใต้รูปแบบเทคโนโลยี subunit, viral vector, mRNA ในการพัฒนา |
F2 (S1P1) พัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products; ATMPs) รวมถึงชีววัตถุที่เกี่ยวข้อง และวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ที่เป็นนวัตกรรมระดับสูงและมูลค่าสูง ให้เป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน | บพข. : TRL ระดับ 3-8 โดยต้องมีการร่วมทุน in cash 10% + in kind 10% TCELs : TRL ระดับ 7-9 โดยต้องมีการร่วมทุน in cash 10% + in kind 10% |
N1 (S1P1) สร้างความสามารถและยกระดับการให้บริการจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำเพื่อให้เกิดบริการการรักษาที่มีความแม่นยำสูง | สวรส. : โรคมะเร็ง / โรควินิจฉัยยาก/ โรคไม่ติดต่อ/ โรคติดเชื้อ/ เภสัชพันธุศาสตร์ TCELs : TRL ระดับ 7-9 โดยต้องมีการร่วมทุน in cash 10% + in kind 10% |
N2 (S1P1) พัฒนาและผลิตยา สารสกัดจากสมุนไพร ที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐาน | บพข. : TRL ระดับ 3-8 โดยต้องมีการร่วมทุน in cash 10% + in kind 10% TCELs : TRL ระดับ 7-9 โดยต้องมีการร่วมทุน in cash 10% + in kind 10% |
แผนงานที่ P2 พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านเกษตรและอาหารให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
F4 (S1P2) เร่งพัฒนาการผลิตและส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูงและมูลค่าสูง เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง ให้ไทยเป็นประเทศชั้นนำของโลก โดยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและประเทศที่สั่งซื้อ | สวก. : การวิจัยสมุนไพร (ขมิ้นชัน /บัวบก/ ฟ้าทะลายโจร) ใน TRL ระดับ 1-3 |
แผนงานที่ P4 พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน วัสดุชีวภาพ และเคมีชีวภาพให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
N6 (S1P4) สร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (เชื้อเพลิงชีวภาพ วัสดุและเคมีชีวภาพ) จากการเปลี่ยนผลิตผลทางการเกษตรหรือของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตหรือการบริโภค | บพข. : TRL ระดับ 4-8 โดยต้องมีการร่วมทุน in cash 10% + in kind 10% |
N7 (S1P4) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการใช้ประโยชน์พลังงานสะอาด | บพข. : TRL ระดับ 4-8 โดยต้องมีการร่วมทุน in cash 10% + in kind 10% |
การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
แผนงานที่ P10 ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศให้พร้อมรับโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
N14 (S2P10) พัฒนาระบบบริการเพื่อยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพ | สวรส. : การวิจัยระบบยา/ เทคโนโลยีทางการแพทย์ / กำลังคนด้านสุขภาพ/ ระบบบริการสุขภาพ/ ระบบข้อมูลสุขภาพ/ การเงินการคลังสุขภาพ/ ระบบอภิบาลสุขภาพ |
N15 (S2P10) พัฒนาระบบสุขภาพในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพและภัยสุขภาพ | สวรส. : การวิจัยระบบยา/ เทคโนโลยีทางการแพทย์ / กำลังคนด้านสุขภาพ/ ระบบบริการสุขภาพ/ ระบบข้อมูลสุขภาพ/ การเงินการคลังสุขภาพ/ ระบบอภิบาลสุขภาพ |
N16 (S2P10) พัฒนาความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ | สวรส. : การวิจัยระบบยา/ เทคโนโลยีทางการแพทย์ / กำลังคนด้านสุขภาพ/ ระบบบริการสุขภาพ/ ระบบข้อมูลสุขภาพ/ การเงินการคลังสุขภาพ/ ระบบอภิบาลสุขภาพ |
แผนงานที่ P15 พัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
N27 (S2P15) พัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาด้านนิเวศน์และมลพิษในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งยกระดับการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ | วช. : เป็นโครงการเดี่ยว หรือแผนงานวิจัย ที่มีอย่างน้อย 2 โครงการ แต่ไม่เกิน 6 โครงการ ด้านการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของภาคอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมในการจัดการมลพิษและ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริม การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและพลังงานในอุตสาหกรรม ให้ปลอดมลพิษเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม |
การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต
แผนงานที่ P19 พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต รวมทั้งอุตสาหกรรมอวกาศ
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
N36 (S3P19) วิจัยขั้นแนวหน้าในสาขาสำคัญเพื่อประยุกต์และพัฒนาต่อยอดเศรษฐกิจ BCG | บพค. : การพัฒนานวัตกรรมเนื้อสัตว์โปรตีนสูงที่ได้จากการเพาะเลี้ยง / โปรตีนจากพืชหรือจุลชีพ / วิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์ที่สร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการต่อยอดสู่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการแพทย์เฉพาะบุคคล |
แผนงานที่ P20 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศที่รองรับการวิจัยขั้นแนวหน้า และการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อนาคต
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
N42 (S3P20) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพและบริการ สำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต | บพข. : พัฒนาความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง (มาตรฐานการวัด/ มาตรฐาน/ คุณภาพ/ วิธีการทดสอบ/ การรับรอง/ บริการทดสอบหรือรับรอง/ สารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา) |
การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืนโดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม
แผนงานที่ P21 ยกระดับการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์รวมถึงนักวิทยาศาสตร์และนวัตกรที่มีทักษะสูงให้มีจำนวนมากขึ้น
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
F13 (S4P21) ผลิตและพัฒนาบุคลกรด้านการวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ และนวัตกรที่มีทักษะสูงให้มีจำนวนมากขึ้น และตรงตามความต้องการของประเทศ โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมคต | บพค. : การพัฒนานักวิจัยหลังปริญญาเอกและนักวิจัยหลังปริญญาโท ที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีImpact factor ในระดับ ควอร์ไทล์1 หรือ Tier 1 ภายใต้ฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น อาทิ Scopus หรือ Web of science อย่างน้อย 1 เรื่อง และมีความร่วมมือระหว่างนักวิจัยอย่างน้อย 3 สถาบัน วช. : แผนงานการพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมสู่การเพิ่มมูลค่าเกษตรด้วยนวัตกรรม กลุ่มเรื่อง การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม |
N43 (S4P21) ส่งเสริมผู้มีศักยภาพสูงให้เข้าสู่เส้นทางอาชีพ และมีความก้าวหน้าในสายอาชีพนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนวัตกร | วช. (ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยกลุ่มศักยภาพสูง) : ผู้ขอรับทุนต้องเคยได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น หรือมีศักยภาพเทียบเคียงระดับ ศาสตราจารย์ และไม่ดำรงตำแหน่งบริหาร (งบประมาณรวมที่ขอรับทุน 3 ปีไม่เกิน 15 ล้านบาท) วช. (ทุนพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยรุ่นใหม่) : เป็นนักวิจัยที่ไม่ใช่อาจารย์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ไม่เกิน 5 ปี มีผลงานตีพิมพ์หรือสิทธิบัตร อย่างน้อย 2 บทความ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องเป็นผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Web of Science หรือ Scopus) และมีนักวิจัยที่ปรึกษาช่วยชี้แนะในการทำวิจัย วช. (ทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นกลาง) : เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า มีผลงานด้านการวิจัยที่มีคุณภาพและทำงานประจำอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงานในประเทศไทย และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องเป็นผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Web of Science อย่างน้อย 4 บทความ (First author หรือ Corresponding author) มีค่า h-index ในฐาน Web of Science ไม่น้อยกว่า 3 และมีผลงานถูกอ้างอิงในฐาน Web of Science ไม่น้อยกว่า 50 ครั้ง) วช. (ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น) : เป็นศาสตราจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว และปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย/ เป็นผู้มีผลงานที่มีคุณภาพสูง ได้รับการยอมรับในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ หรือผ่านการรับทุนอื่นมาแล้ว อาทิ เมธีวิจัยอาวุโส ทุนนักวิจัยแกนนำ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น นักเทคโนโลยีดีเด่น ไม่มีตำแหน่งบริหารตั้งแต่ระดับคณบดีขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างรับทุนวิจัยหลักอื่นๆ |
แผนงานที่ P23 พัฒนาการเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงของอาเซียนและศูนย์กลางการเรียนรู้ของอาเซียนที่มีความร่วมมือด้านการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบัน/ศูนย์วิจัยกับเครือข่ายระดับนานาชาติอย่างเข้มแข็งในวงกว้าง
แผนงานย่อย | PMU ที่รับผิดชอบ / เงื่อนไขการขอรับทุน |
---|---|
N48 (S4P23) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติ (Global Partnership) | บพค. : การพัฒนานักวิจัยหลังปริญญาเอเป็นความร่วมมือใหม่ระหว่างนักวิจัยในประเทศไทยและต่างประเทศ จากอย่างน้อย 2 สถาบัน บพข. : TRL ระดับ 3-8 เป็น technology transfer และต้องมีการร่วมทุนจากเอกชนต่างประเทศ in cash 10% + in kind 10% วช. : ทุนไทย-ญี่ปุ่น (NRCT-JSPS) สนับสนุนไม่เกิน 650,000 บาทต่อโครงการ |